Life & Health

Map

ความชรา และความเสื่อม

ความชรา (Aging)

โดยหลักของเวชศาสตร์ชะลอวัย คือ การเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ความเจ็บป่วย และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ โดยสาเหตุหลักของความชราเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ เรามักมีความเชื่อที่ว่า อายุที่มากขึ้น ร่างกายจะมีความเสื่อม และสึกหรอไปตามวัย จึงทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เรามักเรียกรวม ๆ ว่าโรคชรา แต่สำหรับเวชศาสตร์ชะลอวัยเชื่อว่า ความชรานั้นไม่ได้เกิดจากตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่ทำให้คนแต่ละคนนั้นมีสภาพร่างกาย สุขภาพ และความชราต่างกัน แม้จะอายุเท่ากันก็ตาม หากเรารู้ถึงสาเหตุของความเสื่อมถอยของร่างกาย ก็สามารถหาแนวทางป้องกัน เพื่อชะลอความเสื่อม และความชราของร่างกายลงได้ นอกจากนี้ยังป้องกันโรค หรือ การเจ็บป่วยบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ถึงแม้ตัวเลขอายุจะเพิ่มขึ้น ร่างกายเราก็จะไม่ชราไปตามเวลา ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้

ความชรา (Aging)

โดยหลักของเวชศาสตร์ชะลอวัย คือ การเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ความเจ็บป่วย และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ โดยสาเหตุหลักของความชราเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ อนุมูลอิสระ (Free Radical) ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร ร่างกายจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย ในกระบวนการนี้ทำให้ได้ออกซิเจนที่มีประจุลบ ซึ่งก็คือ อนุมูลอิสระ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น เช่น การรับประทานอาหารที่ผ่านการทอดด้วยอุณหภูมิสูง อาหารปิ้ง ย่าง สารปรุงแต่งอาหาร มลพิษต่าง ๆ PM 5 ควันรถ ควันบุหรี่ สารเคมีปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง ความเครียด นอนน้อย ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
อนุมูลอิสระ เป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกัน และสร้างความเสื่อมให้กับเซลล์ต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่น โรคความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงโรคมะเร็ง เราไม่สามารถหยุดกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ แต่เราสามารถชะลอได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ เเละมีสารพฤกษเคมีสูง (Phytonutrients) สารพฤกษเคมีเหล่านี้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) เช่น ผักหลากหลายสี หลากหลายชนิด ถั่ว ธัญพืชทั้งเมล็ด ลดการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงอย่างแป้งขาว น้ำตาล ไขมัน และ การควบคุมแคลอรี เพิ่มช่วงเวลาในการจำกัดเวลาในการรับประทานอาหาร (Intermittent Fasting, IF) เป็นต้น

Image

หมั่นดูแล ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทางสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้การดูแล และความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุ ได้ปรับตัวได้ดี ลูกหลานหรือผู้ใกล้ชิดจึงมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ผู้สูงอายุในครอบครัว ใช้ชีวิตได้อย่างมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขกายสุขใจ

วัยสูงอายุ

คือ ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทางสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้การดูแล และความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุ ได้ปรับตัวได้ดี ลูกหลานหรือผู้ใกล้ชิดจึงมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ผู้สูงอายุในครอบครัว ใช้ชีวิตได้อย่างมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขกายสุขใจ

เมื่อเข้าสู่งวัยสูงอายุ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ทางด้านร่างกาย ร่างกายเริ่มอ่อนแอลงและมีความเสื่อมทางด้านร่างกายทำให้เชื่องช้า ร่างกายมีเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ และจากโรคภัยที่รุมเร้า บางรายอาจมีอาการมือเท้าสั่น เสียการทรงตัวหรือการทรงตัวไม่ดี ร่างกายปรับตัวกับสภาพดินฟ้าอากาศได้ยาก ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว ทางด้านสมอง  ระบบประสาทและสมองมีการเสื่อมตามกาลเวลาทำให้หลงลืมง่าย ความจำไม่ดี แต่เหตุผลและความสุขุมรอบคอบอาจยังปกติอยู่ ทางด้านอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ในวัยสูงอายุอารมณ์ไม่อาจคงที่ มีความอ่อนไหวง่าย บางรายเอาแต่ใจตัวเองเพิ่มมากขึ้น  โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย ชอบบ่น แต่บางรายกลับใจดีมากขึ้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในครอบครัว เศรษฐกิจ รายได้ และความรักความอบอุ่น ความเอาใจใส่จากครอบครัวที่เป็นอยู่ ทางสังคม  การเปลี่ยนแปงทางด้านสังคม ส่วนมากก็มักยึดศาสนาเป็นที่พึ่ง บางรายอาจต้องหาเลี้ยงชีพอยู่หรือเลี้ยงดูลูกหลานในบ้าน จึงกลายเป็นที่พึ่งและเพื่อนเล่นของลูกๆ หลาน ซึ่งก็ช่วยให้มีความสุข ไม่เบื่อได้

ควรปรับตัวอย่างไรในวัยสูงอายุ ให้มีความสุขที่ยั่งยืน

-เตรียมใจยอมรับความรู้สึกสูญเสีย ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยนี้ เช่น สูญเสีย สมรรถภาพทางกาย ลูกหลานจากไปมีครอบครัว บางครั้งก็ต้องอยู่ตามลำพังคนเดียว
-ไม่ควรคิดถึงอายุซึ่งลวงเลยไป หรืออดีตด้วยความวิตกกังวล
-อย่าคิดว่าอายุทำให้คนอื่นเลิกเคารพตัวท่าน
-เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคนอื่นบ้าง
-ไม่ควรจริงจังกับชีวิตมากนัก ดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง
-ดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีโปรตีนปานกลาง ไขมันน้อย วิตามินมาก ปริมาณต้องจำกัด
-ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ และ  พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
-ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
-พักผ่อนหย่อนใจและทำงานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ เพื่อความเพลิดเพลินใจ เช่น ปลูกต้นไม้ ไปวัดทำบุญศึกษาและปฏิบัติธรรม
-เก็บออมทรัพย์ไว้ เพื่อจุนเจือใช้จ่ายในวัยสูงอายุจะได้พึ่งตนเองได้
-ไม่เก็บตัว แยกตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว
-ควรร่วมวงสนทนากับเพื่อนๆ และผู้อื่นที่มีอายุอ่อนกว่าจะช่วยทำให้สังคมของผู้สูงอายุกว้างมากขึ้น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในสังคม ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ไม่คับข้องใจมากนัก
-การยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ ประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกกาลละเทศะและเหมาะสม กับอายุ
-ไม่ทำตนให้เป็นที่รำคาญแก่ลูกหลานหรือผู้อื่น ไม่จู้จี้ขี้บ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้อื่นและ ลูกหลานรู้สึกอบอุ่นและอยากเข้ามาใกล้ชิด
-ทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ รู้จักสร้างอารมณ์ขัน ไม่เครียดจนเกินไป
-บริหารอารมณ์ ให้เป็นผู้มีมีจิตใจดี อารมณ์ดี

ลูกหลานญาติพี่น้อง มีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ผู้สูงอายุ หรือ ผู้สูงอายุ ปรับตัวได้อย่างมีความสุข โดยให้เกียรติให้ความเคารพมีสัมาคารวะกับผู้สูงอายุ และช่วยให้ท่านมีความภาคภูมิใจ ไม่ดูถูกเหยียดหยามท่าน ให้การเลี้ยงดูและดูแลท่าน คอยถามไถ่เวลาท่านไม่สบายพาไปหาหมอ ดูแลเอาใจใส่ท่านจนหายจากเจ็บไข้ ท่านจะได้รู้สึกว่าตนเองยังมีความสำคัญต่อครอบครัวยังมีคนห่วงใยคอยดูแลอยู่ทำให้ท่านรู้สึกอบอุ่นใจ และสามารถที่จะต่อสู้กับชีวิตในวัยสูงอายุได้ดีขึ้น

Map

ยาคุมฉุกเฉิน หรือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

emergency contraceptive pills, morning-after pills

เป็นยาเม็ดฮอร์โมนที่มีขนาดสูง ใช้สำหรับรับประทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดวิธีนี้จะให้ประสิทธิภาพภายใน 2 - 3 วัน โดยจะไปรบกวนการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิแต่หากได้รับการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะไม่สามารถป้องกันได้ ยาคุมฉุกเฉิน หรือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ( emergency contraceptive pills, morning-after pills ) เป็นยาเม็ดฮอร์โมนที่มีขนาดสูง ใช้สำหรับรับประทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดวิธีนี้จะให้ประสิทธิภาพภายใน 2 - 3 วัน โดยจะไปรบกวนการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิแต่หากได้รับการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะไม่สามารถป้องกันได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน

1.ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ ไม่สามารถป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรสวมถุงยางอนามัย ยาคุมฉุกเฉินไม่ใช่ยาทำแท้ง ยาคุมฉุกเฉินเป็นเพียงการป้องกันการตั้งครรภ์ และต้องได้ยาเข้าไปในร่างกายก่อนที่จะมีการฝังตัวของไข่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก เแต่หากไข่ที่ผสมกับอสุจิได้ฝังตัวที่ผนังมดลูกไปแล้ว ยานี้จะไม่มีผลอะไรกับการตั้งครรภ์
2.ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวผู้ใช้ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน และหากกินบ่อยๆ อาจมีผลกับร่างกาย เช่น เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกได้
3.มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่ายาคุมฉุกเฉินอาจทำให้ทารกพิการได้หากรับประทานไปโดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ไม่มีรายงานว่าพบทารกพิการจากมารดาที่รับประทานยาโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์
4.การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ดังกล่าวตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มยาภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85% ดังนั้น จึงควรรับประทานยาเม็ดแรกหลังการมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
5.มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่าใช้ยาคุมฉุกเฉินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาวได้ ดังนั้นหากสามีภรรยาที่ยังไม่พร้อมมีบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว มีวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากกว่าเช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติชนิดเม็ด โดยรับประทานทุกวันวันละ 1 เม็ด นอกจากนี้การรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำจะพบอาการข้างเคียงสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย รวมทั้งพบความเสี่ยงในการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น
6.ยาคุมฉุกเฉินไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ และไม่มีผลทำให้การตั้งครรภ์ครั้งถัดไปช้าลง
7.ถ้ามีอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมง ควรทานยาซ้ำ ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยวชนิดโปรเจสตินนิยมมากกว่าชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากมีคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า ยังไม่แนะนำให้ทานยาแก้อาเจียนทุกครั้งที่ทานยาคุมฉุกเฉิน

Image

กระหายน้ำ

อาการนี้เป็นอาการพื้นฐาน เลยเราจะทราบได้จากในปากของเราไม่มีน้ำลาย แม้ขณะที่ดื่มน้ำ ร่างกายเราอาจยังรู้สึกว่าน้ำไม่เพียงพออาการเหมือนดื่มน้ำไม่อิ่ม เมื่อร่างกายรู้สึกว่าดื่มพอแล้ว ก็ต่อเมื่อระดับของเหลวในร่างกายคืนสู่สภาวะปกติ
ปากแห้ง คอแห้ง
เป็นอาการต่อเนื่องจากอาการกระหายน้ำ จะรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง รู้สึกคอแห้ง การดื่มน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุภายในช่องปากและลำคอ ทำให้ริมฝีปากชุ่มชื้นไม่แห้ง
ผิวแห้ง ผิวหยาบ
สังเกตได้จากการที่ผิวตามแขนหรือขา เมื่อสัมผัสไม่รู้สึกชุ่มชื้น ผิวสากๆ หรือ แลดูผิวแห้ง ควรหาน้ำดื่มให้เพียงพอกับร่างกาย  บางกรณีเมื่อร่างกายมีการขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ ผิวแตก ผิวแห้งกร้าน
ตาแห้ง
เวลาร่างกายเราขาดน้ำท่อน้ำตาก็จะแห้งไปด้วย ส่งผลให้ตามีสีแดงก่ำ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในตาแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ ภาวะร่างกายการขาดน้ำจะส่งผลอันตรายมากกว่าคนปกติทั่วไป
อาการเหนื่อยล้า
เมื่อร่างกายขาดน้ำ ร่างกายก็จะไปยืมน้ำจากอวัยวะส่วนอื่นภายในร่างกาย เช่น เลือดในร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย  การขาดออกซิเจน จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงนอน และ ซึมตามมาได้ด้วย
มีอาการท้องผูก
หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เกิดปัญหาลุกลาม จนทำให้มีอาการท้องผูก ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ และ รับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีด้วย
ปัสสาวะน้อย
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ และปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ และในกรณีอาการหนักอาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตรต่อวัน คำนวณอย่างไร… = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 2.2 = (?) x 30 ÷ 2 = ปริมมาณที่ควรดื่มในแต่ละวัน (มิลิลิตร) ยกตัวอย่าง เช่น  น้ำหนัก 50 กิโลกรัม = (50 x 2.2 x 30)÷2 = 1,650 มิลลิลิตร

Map

ฝุ่น PM 2.5

มีผลกระทบต่อผิวหนังได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น ควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมากการใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกายการทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวการชะล้างทำความสะอาดผิวหนังจะมีส่วนช่วยลดทอนการสัมผัสโดยตรงต่อฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ได้ ฝุ่นละอองในอากาศเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นทั่วโลกและกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยโดยพบฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานทั้งในกรุงเทพปริมณฑลและอีกหลายจังหวัดฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากนี้นอกจากจะทำให้มีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผิวหนังด้วยเช่นกัน

ผิวหนังเป็นอวัยะที่ปกคลุมอยู่ทั่วร่างกายของเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค อีกทั้งยังมีหน้าที่ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิ และรับความรู้สึก ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะหลักที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมและมลภาวะต่างๆตลอดเวลาฝุ่นมลพิษPM 2.5 มีขนาดที่เล็กและเบาลอยอยู่ในอากาศสามารถเข้าสู่ผิวหนังมนุษย์ได้โดยตรง มีงานวิจัยถึงผลของฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์โดยตรงทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังที่มากขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิมอยู่แล้วเช่นโรคภูมิแพ้ผิวหนังจะมีการระคายเคืองคันมากยิ่งขึ้นผื่นกำเริบมากขึ้นได้นอกจากนี้ยังพบว่าฝุ่นมลพิษPM 2.5 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ทั้งในกระบวนการสร้างเซลล์ ซึ่งส่งผลต่อภาวะความชราของผิวหนัง รวมถึงจุดด่างดำบนชั้นผิวหนังด้วย นอกจากนี้ยังพบการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังลดลงด้วยเช่นกัน

จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อผิวหนังได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น ควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมากการใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกายการทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวการชะล้างทำความสะอาดผิวหนังจะมีส่วนช่วยลดทอนการสัมผัสโดยตรงต่อฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ได้

Image

"ฝ้า"

ในบรรดาเรื่องสุขภาพสุดฮิตที่ผู้หญิงให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสวยงาม โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณบนใบหน้ายกตัวอย่างเช่น ปัญหาฝ้า ซึ่งขึ้นชื่อว่ารักษายาก เรามาทำความรู้จักกับฝ้าให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจทำการรักษา

"ฝ้า"

ฝ้าพบบ่อยในผู้หญิงวัยกลางคน ลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาล พบบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก เหนือริมฝีปากบนและคาง มักเริ่มจากจุดสีน้ำตาลแล้วขยายเป็นปื้น เราสามารถแบ่งชนิดของฝ้าได้เป็น 3 ชนิด
1). ฝ้าชนิดตื้น
ลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม ขอบเขตชัด เกิดจากเม็ดสีเมลานินสะสมในชั้นหนังกำพร้ามากผิดปกติ ฝ้าชนิดนี้ค่อนข้างตอบสนองดีต่อการรักษา เนื่องจากเม็ดสีเมลานินอยู่ไม่ลึกในผิวหนังจึงง่ายต่อการกำจัด
2.) ฝ้าชนิดลึก
ผื่นฝ้าจะเป็นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบเขตไม่ชัด เกิดจากเม็ดสีเมลานินอยู่ในชั้นหนังแท้ มีผลทำให้การรักษาค่อนข้างยาก
3.) ฝ้าชนิดผสม
มีเม็ดสีเมลานินสะสมมากทั้งในชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้

สาเหตุของการเกิดฝ้า

มีปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสี ได้แก่ แสงแดด เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด รังสีUVA และUVB เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า และทำให้เป็นฝ้ามากขึ้นได้ ฮอร์โมน ฝ้าอาจเป็นมากขึ้นในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือสตรีที่ตั้งครรภ์ และฝ้ามักจางลงภายหลังหยุดยาคุมกำเนิด หรือหลังคลอด ยาบางชนิด เช่นยากันชัก อาจทำให้ฝ้ามีสีคล้ำขึ้น การแพ้เครื่องสำอางค์ อาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้ โดยเฉพาะการแพ้น้ำหอมหรือสีที่ผสมในเครื่องสำอางค์นั้นๆ พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดฝ้า เนื่องจากมีรายงานการเกิดฝ้าในครอบครัวถึงร้อยละ 20-70

การรักษาฝ้า

เน้นหลักสำคัญ 2 ประการคือ หลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัจจัยที่กระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น ร่วมกับ การพยายามรักษาให้ฝ้านั้นจางลง ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องฝ้าควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด หรือยาอื่นๆ ที่อาจทำให้รอยคล้ำนั้นเป็นมากขึ้น การหลีกเลี่ยงแสงแดดก็เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ การเลือกครีมกันแดด ควรเลือกที่มีประสิทธิภาพดี ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB สำหรับค่า SPF(Sun Protection Factor) ควรมีค่าประมาณ 30 หรือสูงกว่า

Map

บุหรี่ มหันตภัย

ถึงผู้สูบ และผู้อยู่ใกล้

บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญ อันดับสองของการเสียชีวิตทั่วโลก ครึ่งหนึ่งของคนที่สูบบุหรี่ทั่วโลกในปัจจุบัน คือ ประมาณ 650 ล้านคน จะเสียชีวิตจากบุหรี่และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้น คือ คนที่ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตในแต่ละปีด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักและทำความเข้าใจกับพิษภัยของบุหรี่กันให้มากขึ้น เพื่อดูแลตนเองและคนที่คุณรักให้ปลอดจากพิษภัยของบุหรี่

อยากเลิกบุหรี่ ควรทำอย่างไร

1.ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งทั้งจากตนเอง และคนรอบข้าง โดยพยายามสร้างแรงจูงใจให้อยากเลิกบุหรี่
2.ทำพฤติกรรมบำบัด โดยทิ้งอุปกรณ์การสูบ ออกกำลังกาย หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
3.หากเลิกไม่ได้ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อใช้ยาช่วย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ 40-60%
4.คนรอบข้างควรติดตามและให้กำลังใจผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการกลับไปสูบใหม่

หากเลิกบุหรี่แล้ว จะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่

ผู้ที่สูบบุหรี่ทุกคนสามารถเลิกบุหรี่ได้ ถ้าได้รับคำแนะนำและกำลังใจที่ดี อาจจะมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากเกิดอาการเหล่านี้ แนะนำให้ดื่มน้ำเย็น หายใจเข้าออกลึก ๆ ในเวลาที่รู้สึกหงุดหงิด ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร เพราะหลังจากหยุดบุหรี่แล้วจะทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้นโดยอาการต่าง ๆ เหล่าจะหายไปภายใน 3-4 วัน

Image

เลิกจับหน้า

พูดง่าย แต่ทำยาก

การสัมผัสใบหน้าเป็นพฤติกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะบุคคล มีทุกคน และอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ (เกือบจะอัตโนมัติ) เคยมีการศึกษาว่ามนุษย์เรามีการจับหน้าโดยไม่จงใจบ่อยถึง 3 ครั้งต่อชั่วโมง แต่ละคนก็ชอบที่ใดที่นึงเป็นพิเศษต่างกันไป บริเวณที่พบบ่อย เช่น เท้าคาง ถูหว่างคิ้ว ขยี้ตา ถูจมูก เอามือป้องปาก
จากการศึกษาด้านพฤติกรรมศาสตร์เชื่อว่าเป็นกลไกระบายความเครียดแบบนึง การสัมผัสจุดพอใจบนหน้า จะกระตุ้นสมองให้หลั่งฮอร์โมนออกซิโตซินเพื่อผ่อนคลาย (คล้ายๆเวลาถูกกอด) เราจึงพบว่าคนมักจะเผลอจับใบหน้าขณะกำลังครุ่นคิด ตึงเครียด ใช้สมาธิ เหนื่อยล้า
มาบอกให้เลิกจับหน้า ก็เหมือนให้เลิกนิสัยติดตัวจึงยากมาก สมองเป็นอวัยวะที่เอาแต่ใจเป็นที่สุด เราไม่สามารถใช้อำนาจจิตใจ บังคับสมอง บังคับมือตัวเอง โดยการบอกซ้ำๆ ว่าอยู่นิ่งๆ อย่าจับ อย่าจับ .. ได้ สมองจะไม่ฟัง เพราะนั่นเท่ากับว่าเราไปห้ามสมอง ให้มันไม่ได้รับความพอใจที่ได้ผ่อนคลาย สุดท้ายสมองก็จะเรียกร้องกลไกการผ่อนคลายให้จงได้ ลองขืนไปสักพักเราอาจจะพบว่า ตัวเองกำลังถูคางไปขณะยังคงท่องในใจว่าอย่าจับๆไปพร้อมกันซะงั้น

จริงๆ จะไม่จับหน้า ก็พอทำได้โดยมีข้อแม้คือ “สมองยังคงต้องได้รับความพอใจอยู่” ดังนั้นเราอาจใช้เทคนิคการปรับสมอง โดย
1. ก่อนอื่นต้องหาว่า ตัวกระตุ้นหรือเหตุการณ์อะไร ที่มักทำให้เราจับหน้า เช่น การอ่านหนังสือ ดูคอม ฟังเลคเชอร์ ขับรถ
2. เมื่อเรารู้แล้วก็จะพอทำนายล่วงหน้าได้ว่า เรากำลังขับรถ…อีกประเดี๋ยวเราจะต้องเผลอจับหน้าแหงๆ…  ขั้นตอนนี้คือ เราใช้สมองส่วนความจดจ่อ (Attention) สร้าง “ความตื่นรู้”  (Self-Awareness) เพื่อเตือนสมองส่วนวางแผน (Execution) ให้เตรียมจัดการกับสมองส่วนใต้อำนาจจิตใจ (Subconsciousness) ไว้ล่วงหน้า
3. หาสิ่งชดเชยพฤติกรรมนั้น แบบที่มี pattern คล้ายๆกัน เพื่อมาทดแทนให้สมองพอใจ  (Substitution) เช่น เมื่อเราเริ่มๆจะจับหน้า self-awareness ในขั้นที่สอง ก็จะส่งสัญญาณเตือนเรา ขั้นนี้จะก่ำกึ่งอยู่ระหว่าง การรู้ตัวและไม่รู้ตัว เราก็รีบเอา activity ที่เราวางแผนไว้แล้ว มาสวมแทน เช่น ย้ายมือไปดึงชายเสื้อ หรือเอามือประสานกัน ควรทำในรูปแบบเดียวอย่างสม่ำเสมอ - ตัวอย่างของ การ substitution อื่น เช่น พกผ้าหรือทิชชูติดตัว เวลาจะถูหน้าก็ให้เอามือไปหยิบผ้าก่อน แล้วเอาผ้ามาถูแทน, ขณะที่มือเรากำลังจะ landing บนหน้า เราก็รีบเอา substitution มาโดยเลื่อนมือไปจับท้ายทอยแทน (อย่างน้อยก็ไกลจากจุดที่ไวรัสจะเข้า)

เทคนิคข้างต้นคือ เราทำการสร้างชุดข้อมูลนิสัยการจับแบบใหม่ให้สมอง เพื่อมาแทนที่นิสัยจับหน้าเดิม  หากเราฝึกดีๆ นิสัยเดิมจะเริ่มลดจำนวนครั้งลง และนิสัยใหม่จะค่อยๆเกิดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือน กว่าจะเข้ามาทดแทนสำเร็จ โดยที่เราเองก็อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าเราเลิกจับหน้าได้แล้ว!
แม้เราจะฝึกแก้นิสัยจับหน้าแล้ว ก็อย่าลืมสิ่งสำคัญสุดคือ ล้างมือบ่อยๆ ใส่ที่ป้องกัน (ใส่มาสก์ หรืออาจใส่แว่นในคนที่ชอบจับคิ้ว) ที่เราต้องคอยบอกตัวเอง ให้สร้างเป็นความเคยชิน และทำสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงระบาดของโรคหรือไม่ อย่าลืมว่าย้ายมือไปลงที่ไหนก็ต้องคอยตามทำความสะอาดจุดนั้นแทนด้วยนะคะ

Map

รวมคำถาม ยอดฮิต?

เกี่ยวกับอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรสำหรับร่างกายเรา อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้อย่างไร สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วร่างกายเราสามารถสร้างเองได้หรือไม่? สารพฤกษเคมี คืออะไร ได้มาจากพืชประเภทใดบ้าง ตัวอย่างของสารพฤกษเคมี

Q1: อนุมูลอิสระ คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรสำหรับร่างกายเรา

อนุมูลอิสระ หรือชื่อภาษาอังกฤษที่เราได้ยินบ่อย ๆ คือ Free radicals เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีการใช้ออกซิเจนในกระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน และจะมีการสร้างอนุมูลอิสระ เป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร เพราะขาดอิเล็กตรอน ทำให้ต้องไปแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของสารอื่น ๆ โมเลกุลที่โดนแย่งอิเล็กตรอนไปนั้นจะกลายเป็น อนุมูลอิสระ ที่แย่งชิงอิเล็กตรอนของโมเลกุลอื่น เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ไปเรื่อย ๆ อนุมูลอิสระที่มีมากเกินไป จะเข้าไปทำลายเซลล์ ทำให้เกิดความเสียหาย และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ และหลอดเลือด แก่ก่อนวัย ต้อกระจก และโรคอื่น ๆ

Q2: อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้อย่างไร

อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายใน และภายนอกร่างกายของเรา
*อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากภายในร่างกาย (Internal free radical) ส่วนใหญ่มาจากกระบวนการเผาผลาญภายในเซลล์และการสร้างพลังงานที่ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในเซลล์ เสมือนโรงงานผลิตพลังงานภายในเซลล์ของเรา เพราะฉะนั้น ถ้าเรารับประทานมาก หรือ รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ร่างกายต้องเกิดการเผาผลาญมากขึ้น ก็จะเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น
*อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากภายนอกร่างกาย (External free radical) มาจากหลายเเหล่ง เช่น แดดร้อนจัด มลพิษ ฝุ่นควัน ควันบุหรี่ เชื้อโรคต่าง ๆ อาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน ปริมาณมาก ๆ อาหารประเภททอด ปิ้งย่าง
*ความเครียดทั้งจิตใจ และความเครียดทางร่างกาย เช่น อดนอน นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหนักเกินไป
*รวมถึงการอดอาหารมื้อเช้า ซึ่งเป็นความเครียดอย่างหนึ่ง โดยในปัจจุบัน หลายคนละเลยมื้อเช้าจนเคยชิน ทำให้ร่างกายเครียดโดยไม่รู้ตัว

Q3: สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วร่างกายเราสามารถสร้างเองได้หรือไม่?

ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์นั้นจะมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) หรือ ได้รับจากเเหล่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เพื่อจัดการอนุมูลอิสระเหล่านี้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) สามารถปกป้องร่างกาย ด้วยการให้อิเล็กตรอนของตัวเองแก่อนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลอิสระไม่ต้องการอิเล็กตรอนจากเซลล์ของร่างกาย หยุดยั้งกระบวนการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็น ปฏิกิริยาที่มีการรวมตัวกับออกซิเจน เป็นปฏิกิริยาเดียวกันกับที่ทำให้ตะปูเป็นสนิม เพราะออกซิเจนในอากาศ ทำปฏิกิริยากับเหล็ก หรือ เเจกันทองเหลืองที่หมองลง หรือเนยที่เหม็นหืน เพราะออกซิเจนทำปฏิกิริยากับไขมัน เป็นต้น โดยจะแบ่งเป็น
*สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้นมา (Internal Antioxidants) จะมีเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งสารชีวเคมีต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็น Antioxidants เช่น เอนไซม์ Superoxide Dismutase (SOD) เอนไซม์ Catalase เอนไซม์ Glutathione Peroxidase
*สารต้านอนุมูลอิสระภายนอกร่างกาย (External Antioxidants) จากเเหล่งอาหาร รวมถึงอาหารเสริมที่เรารู้จักกันดี อย่าง วิตามิน กลูตาไธโอน รวมถึงสารที่ได้จากพืช เรียกว่า สารพฤกษเคมี

Q4: สารพฤกษเคมี คืออะไร ได้มาจากพืชประเภทใดบ้าง

สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพบางอย่าง พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผัก ผลไม้ ธัญพืช มีสี กลิ่น หรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว มีกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ต้านออกซิเดชัน ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค และควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

Home Order Check Out Check Order
Top